โรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจ

อาการ

  • การมองเห็นของดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างแย่ลง
  • มีอาการตาเหล่ ต้องเอียงศีรษะหรือปิดตาไว้ข้างหนึ่ง เพื่อให้มองเห็นได้ชัด
  • การกะระยะหรือวัดความห่างระหว่างวัตถุกับสิ่งอื่น ๆ ทำได้ยาก
  • ดวงตาเบนเข้าด้านในหรือออกด้านนอก
  • ปวดศีรษะ

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคตาขี้เกียจ

  • เด็กบางกลุ่มอาจมีความเสี่ยงทำให้มีโอกาสในการเป็นโรคนี้มากกว่าปกติเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น ดังนี้
  • เด็กที่มีตาเหล่หรือตาเข
  • มีค่าสายตาสั้นหรือสายตายาวสูงมากทั้ง 2 ข้าง
  • มีค่าสายตาทั้ง 2 ข้าง ไม่เท่ากัน โดยข้างหนึ่งอาจสั้นหรือยาวมากกว่าอีกข้างหนึ่ง มีสภาวะบางอย่างที่ทำให้แสงเข้าตาได้ไม่ปกติ เช่นเป็นต้อกระจก หนังตาตก เป็นต้น
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคตาขี้เกียจ ตาเขหรือตาเหล่
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือคลอดออกมาน้ำหนักตัวน้อย
  • มีความผิดปกติทางด้านพัฒนาการ

การรักษา

การตรวจพบตาขี้เกียจตั้งแต่เด็กจะมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้สูงกว่า เมื่อพบตอนเป็นผู้ใหญ่ การรักษาก่อนอายุ 7 ปี จะได้ผลดีมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการพัฒนาดวงตาและสมองส่วนที่ควบคุมการมองเห็น แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงอายุ 7-9 ปีขึ้นไป การรักษาอาจทำได้ยากมากขึ้นตามอายุ อย่างไรก็ตามในช่วงอายุไม่เกิน 17 ปี การตอบสนองต่อการรักษายังเป็นไปได้ด้วยดี มีหลายวิธีในการรักษาดังนี้

  • สวมแว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ ช่วยแก้ไขปัญหาสายตาของผู้ป่วยที่มีความต่างระหว่างสายตาทั้ง 2 ข้างมาก จึงทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนและสั่งการสมองให้ทำงานประสานกับดวงตาข้างที่อ่อนแอมากขึ้น เพื่อพัฒนาสายตาทั้ง 2 ข้างให้มีการทำงานเท่ากันและเป็นไปตามปกติ
  • ใส่ที่ครอบตาในตาข้างที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่ไม่ดีได้ใช้งานมากขึ้น ตามที่แพทย์แนะนำ
  • ใช้ยาหยอดตาเพื่อให้ตาข้างที่ดีมัวลง ตามที่แพทย์แนะนำ
  • การผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุตาขี้เกียจ จากตาเขหรือตาเหล่ หนังตาตก

การรักษาในวิธีข้างต้นไม่ได้ช่วยให้ตำแหน่งของสายตากลับมาเป็นปกติ การป้องกันโรคตาขี้เกียจ เด็กทุกคนมีโอกาสในการเกิดโรคตาขี้เกียจ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง หากเป็นเด็กทารกแรกเกิดไปจนถึงเด็กที่มีอายุ 6-12 เดือน พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของทารกและพบแพทย์ตามนัดการตรวจสุขภาพของเด็กอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเด็กที่อยู่ในช่วงวัยก่อนเข้าเรียนหรืออายุประมาณ 3-4 ปี ควรเข้ารับการตรวจวัดสายตาเป็นประจำ เพื่อการตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ในระยะเนิ่น ๆ และรักษาได้ทันท่วงที นอกจากนี้ ผู้ที่มีสายตาผิดปกติหรือดวงตาเกิดความผิดปกติควรรีบพบจักษุแพทย์

Back to blog