โรคต้อหิน เป็นภัยเงียบที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร โดยที่ผู้ป่วยไม่ทันรู้ตัวเกิดจากความดันในลูกตาที่สูงขึ้นจนมีการทำลายประสาทตา โรคนี้มักไม่มีอาการ แต่จะเริ่มสูญเสียลานสายตา คือการมองเห็นจำกัดวงแคบลงเรื่อยๆและสูญเสียการมองเห็น อย่างถาวร อาจมีต้อหินบางประเภท เช่น ต้อหินมุมปิดเฉียบพลันที่มีอาการปวดมาก ตามัวลงและตาแดง ถือเป็นภาวะเร่งด่วนมากต้องมาพบจักษุแพทย์ทันที ดังนั้นเราจึงควรลองเช็คการมองเห็นด้วยตัวเองว่าเป็นแบบนี้หรือไม่
สาเหตุ
- การใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ติดต่อกันนานๆ จะทำให้ความดันลูกาสูงขึ้นและเกิดเป็นต้อหินได้
- อุบัติเหตุต่อตา เช่น ตีแบดมินตันหรือเทนนิส แล้วถูกลูกแบดมินตันหรือลูกเทนนิสกระแทกใส่ตา ทำให้เกิดแผลภายในลูกตา ทำให้น้ำภายในลูกตาระบายออกไม่ได้ ก่อให้เกิดความดันสูงขึ้นและเกิดต้อหินได้
- ม่านตาอักเสบ ช่วงที่มีการอักเสบ จะมีปฏิริยาภายในน้ำหนัาเลนส์ตา ส่งผลให้โปรตีนหรือเม็ดเลือดขาวลอยไปอุดรูระบายของน้ำภายในลูกตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้นได้
- สาเหตุอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ไม่เคยได้รับการตรวจจอประสาทตาจากจักษุแพทย์ จนกระทั่งเกิดเบาหวานขึ้นจอตา
การป้องกัน
ระยะแรก ๆ ต้อหินจะไม่มีอาการใด ๆ เลย บางรายอาจมีอาการปวดตาบางครั้ง ซึ่งมีสาเหตุหลายอย่าง เช่น ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ และส่วนใหญ่แพทย์มักวินิจฉัยต้อหินเมื่อมีอาการมากแล้ว
ดังนั้น ใครก็ตามที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปจำเป็นต้องไปตรจตากับจักษุแพทย์ประมาณปีละ 1 ครั้ง สำหรับคนที่เป็นต้อหินระยะแรกอาจจะมีอาการปวดตาข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ หรือมองเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ
ข้อมูลจาก : https://www.thaihealth.or.th/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99-2/